Menu

Tag Archives: ตลาดน้ำ

“ตลาดน้ำกรุงศรี” เชิญมา ช๊อป ฟิน กิน เที่ยวอยุธยา ขอเล่าความซักนิด หลังจากที่มีการปฏิวัติระบบการสัญจรของเกาะเมืองใหม่ โดยบังคับให้รถนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมโบราณสถาน มากราบไหว้พระ ในบริเวณของวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ วัดมหาธาตุ มาจอดรถที่ “ตลาดกรุงศรี” ซึ่งเดิมก็เคยมีการพลักดันให้เป็นสถานที่จอดรถ โดยย้ายร้านค้าที่อยู่หลังวิหารพระมงคลฯ มาอยู่ที่ตลาดกรุงศรี เพื่อไม่ให้รถขนาดใหญ่สัญจรบริเวณโบราณสถาน ซึ่งระยะแรกได้มีการกั้นที่จอด ทำเขตห้ามจอด แต่การทำจุดรับส่งยังไม่เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและไม่สะดวก มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย จึงยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนมีการปรับปรุงระยะที่ 2 ของ “ลุงตู่”, ผู้ว่าสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ และกระบี่มือหนึ่งของโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนี้ ผมยกให้ วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ “เสี่ยอุ๊ กรุงสยาม” เซียนพระชื่อดังที่หลายๆคนรู้จักกันดี ที่เข้ามาควมคุมการสร้างและพัฒนาพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นแหล่งช๊อปปิ้งสินค้าท้องถิ่น  เริ่มต้นด้วยการจัดให้มี “ถนนคนเดินกรุงศรี” บริเวณทางเข้าตลาด ระยะเวลาจัด ราวๆ 3 เดือน นักท่องเที่ยวเริ่มรู้จักมากขึ้น แม้จะเป็นหน้าฝน ก็ยังมีคนมามากขึ้นๆ ร้านค้าก็เยอะขึ้นตามไปด้วย จนเกิดแผนระยะที่ 3 ได้จัดให้มี “ตลาดน้ำกรุงศรี” บริเวณคูน้ำ ด้านหลังตลาดกรุงศรี เริ่มก่อสร้างเมื่อกลางเดือน ส.ค. ซึ่งนายกรัฐมนตรีใช้วันประชุมคณะรัฐมนตรี 19 กันยายน […]
ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล สระบุรี
วันนี้หลังจากที่เข้าตัวเมืองลพบุรีมาก็เลยหาตลาดเพื่อแวะซื้อขนมของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้าน ซึ่งได้ยินชื่อมาซักพักแล้วกับ “ตลาดต้าน้ำบ้านต้นตาล” ต้าน้ำ ก็มาจากคำว่า ท่าน้ำ ในภาษาเหนือนี่เอง เท่าที่ทราบข้อมูลเขาว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชาวเชียงแสน จ.เชียงราย ที่อพยพย้ายถิ่นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งชุมชนนี้ก็ยังคงขนบธรรมเนียมประเพนีแบบชาวเหนือล้านนาไว้ เมื่อเดินเข้าไปในตลาดเราจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายภาคเหนือ การเดินทางค่อนข้างจะหลายโค้งซักหน่อย แต่หากเรามี GPS แล้ว ที่ไหนก็ไปได้หมดครับ เดี๋ยวเส้นทางผมจะลงไว้ให้ทิ้งท้าย มาชมบรรยากาศตลาดกันก่อนเพื่อเรียกน้ำย่อย ตลอดเส้นทางที่มาก็ไม่ค่อยมีรถซักเท่าไหร่ แต่พอมาถึง “วัดต้นตาล” จะเห็นรถวิ่งเข้าออกเยอะมากครับถึงขนาดติดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากที่นี่ไม่ค่อยมีที่ให้จอดรถเท่าไหร่ บางคนก็จอดกันริมถนนและเดินเข้ามา ถ้าจอดรถด้านใน มีพื้นที่จอดได้ประมาณ 30 คัน ค่าจอดคันละ 20 บาทครับ หลังจากรีบหนีความร้อนจากด้านหน้าตลาด แล้วเดินตรงเข้ามาถึงใจกลางตลาดเราจะเจอจุดนัดพบที่เป็นต้นก้ามปูใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปทำให้ตรงนี้ร่มและเย็นมากๆ ป้ายต้นรับในตลาดเขียนเป็นสะเนียงล้านนาว่า “เจินแอ่วกาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นต๋าน” ก็คือเชิญมาเที่ยวตลาดน้ำโบราณบ้านต้นตาล นั่นเอง ภายในตลาดก็จะมีซอยเล็กๆ ให้เดินเพื่อเลือกซื้อของกินของฝาก สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นอาหาร พวกผักพื้นบ้าน ขนมหวาน น้ำสมุนไพร โดยทางตลาดเขาได้ทำแพไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการนำอาหารลงไปทาน หรือ ไปนั่งพักเหนื่อยได้ที่นี่ ข้างๆแพจะมีลานเวทีสำหรับการแสดงรำ ที่ทางตลาดจัดขึ้น อาหารเยอะมากๆ ที่นี่ถ้าทำสถานที่สำหรับรับประทานอาหารกลางวันดีๆ มีมุมสำหรับนั่งทานอาหารผมว่าจะดีไม่น้อย เพราะเท่าที่เดินวนๆ […]
ตลาดน้ำโบราณบางพลี สมุทรปราการ
“ตลาดโบราณบางพลี” หรือ “ตลาดบางพลีใหญ่” เป็นตลาดเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี เป็นเรือนแถวไม้สองชั้นหลายสิบคูหา เรียงรายไปตามลำคลองในบรรยากาศชวนรำลึกถึงอดีต ซึ่งตลาดน้ำบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งและมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร จากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร การเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจวพายและแล่นใบเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมี วัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมายสมควรอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและ หวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษสืบต่อไปดังคำกลอนของสุนทรภู่
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง สมุทรปราการ
ได้ยินมานานแล้วแต่เพิ่งเคยมากับตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ต.บางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ “ตลาดบางน้ำผึ้ง” เปิดครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2547 และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2547 เป็นแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิต วิถีชุมชนและวิถีชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณ บ่งบอกถึงเสน่ห์ของท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของไทยโบราณ ท่านจะได้พบกับเรือจำหน่ายสินค้าริมคลองบางน้ำผึ้ง พร้อมทั้งอาหารคาวหวานไทยโบราณและซุ้มจำหน่ายต้นไม้ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดสมุทรปราการ และ OTOP บางน้ำผึ้ง ทั้งผลิตภัณฑ์จากสวนพืชผักและสมุนไพรต่างๆ อีกมากมาย
ตลาดน้ำบางคล้า ฉะเชิงเทรา
อีกตลาดที่เน้นสำหรับนักชิม ที่มาเยือนจังหวัดฉะเชิงเทรา ตลาดน้ำบางคล้าแห่งนี้เป็นอยู่ถัดไปจาก “ตลาดบ้านใหม่”?ไม่ไกลนัก เปิดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 -18.00 น. ตั้งอยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางคล้า และที่ว่าการอำเภอบางคล้า ยาวไปจนถึงหลังวัดแจ้ง
ตลาดบ้านใหม่ ตลาดร้อยปี เมืองแปดริ้ว
ในทริปนี้ผมไปย้อนยุคตลาดเก่าแก่แห่งเมืองแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา ตลาดที่มีอายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงสภาพดั่งเดิมไว้ ตลาดแห่งนี้เป็นที่ประกอบอาชีพค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญในอดีต ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางประกง ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ตลาดน้ำบ้านน๊อกบ้านนอก ลพบุรี
ใครที่จะมาเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้วพลาดไม่ได้ที่จะต้องแวะ “ตลาดน้ำบ้านน๊อกก..กบ้านนอก” ตลาดน้ำแห่งใหม่ของ จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ อ.พัฒนานิคม ก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพียง 4 กม.เท่านั้น ภายในตลาดจะออกแนวคันทรี่ แบบบ้านน๊อกก…บ้านนอก
ตลาดน้ำเขาใหญ่
ทริปนี้จับพลัดจับผลู ไม่ได้ตั้งใจจะไป แต่มีงานแต่งเพื่อนที่ปากช่อง เลยได้โอกาสไปเดินเล่นนิดหน่อย เห็นมีป้ายเขียนว่า “ตลาดน้ำเขาใหญ่” ใจในผมนึกถึง “ตลาดน้ำปากช่อง” แต่ไม่น่าใช่ เพราะมันไปคนละทางกัน ก็เลยตัดสินใจขับไปตามป้ายครับ
เที่ยวเมืองจำลอง ตลาดน้ำ 4 ภาค เมืองพัทยา
ได้เวลาเล่าทริปใกล้บ้านอีก 1 ทริป เมื่อปีก่อนไปเที่ยวพัทยาและได้มีโอกาสไปแวะไปที่เมืองจำลอง หรือที่เราจะคุ้นหูกันกับชื่อภาษาอังกฤษว่า “Mini Siam” ตั้งอยู่ ติดกับถนนสุขุมวิท กม. 143 เส้นที่จะเข้าเมืองพัทยาเลยครับ ด้านหน้าของที่นี่จะสังเกตุได้ง่ายจะมียักษ์ใหญ่ หรือแบบจำลองของยักษ์วัดโพธิ์ ยืนอยู่ด้านหน้า 2 ตน ครับ ซึ่งผมก็เพิ่งทราบว่าเมืองจำลองนี้ ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2529 (ห๊าาาาา) โดยแบบจำลองชิ้นแรกจะเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนเนื้อที่ทั้งหมด 29 ไร่ ซึ่งได้รวมเอาแบบจำลองปูชนียสถานและโบราณสถาน ที่แสดงถึงสถาปัติกรรมทั้งของไทย และของต่างประเทศรวมอยู่มากมาย
เช้าวันใหม่ที่ บ้านสวนอ้อมสุข ณ อัมพวา (๒)
เช้าวันใหม่ที่ บ้านสวนอ้อมสุข ณ อัมพวา (๒)
ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา (๑)
ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงของเมืองสมุทรสงครามตั้งอยู่ที่ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา ซึ่งมนต์สเน่ห์ของสายน้ำแม่กลอง ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัด สมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุก วันนี้ ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า “ตลาดน้ำยามเย็น”
ตลาดลาดชะโด (1)
ตลาดลาดชะโดก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยพัฒนามาจากตลาดน้ำ เดิมชุมชนชาวจีนสร้างเรือนแพทรงไทยค้าขายสองฝั่งคลอง เกิดเป็นรูปแบบตลาดน้ำ ต่อมาได้ใช้พื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นของวัดลาดชะโด สร้างตลาดไม้ใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อค้าขาย แล้วขยายเข้าไปสูงฝั่งเรื่อยๆ จำนวนเกือบร้อยคูหา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก