Menu

เที่ยวถ่ายภาพ

ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา (๑)
ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงของเมืองสมุทรสงครามตั้งอยู่ที่ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา ซึ่งมนต์สเน่ห์ของสายน้ำแม่กลอง ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัด สมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุก วันนี้ ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า “ตลาดน้ำยามเย็น”
สามชุกตลาดร้อยปี (v.2009)
เมื่อเดือนที่แล้วผมได้กลับไปที่ตลาดสามชุก ที่ จ.สุพรรณบุรี อีกครั้ง ซึ่งก็ไปไม่บ่อยนัก แต่ก็หลายครั้งแล้ว ซึ่งครั้งล่าสุดนี้ผมได้เห็นการพัฒนาที่เกิน ขอใช้คำว่าเกินนะครับ เพราะบรรยากาศต่างกับครั้งแรกที่ผมไปมากๆ มันไม่ใช่ตลาดเก่าแก่ และเงียบสงบอีกต่อไปแล้ว เพราะมันคึกคักมาก ผู้คนจากทุกสารทิศ หลั่งไหลมารวมกันที่นี่ จนแน่นขนัด ร้านค่าต่างๆ ก็แต่งร้านใหม่ มีสินค้าใหม่ๆ พูดง่ายๆคือ สินค้าทั่วๆไป หรือของที่ทำมาขายเป็นพิเศษ เริ่มมากขึ้น ของกินเยอะขึ้น ทำให้ตลาดขนาด 4 บล็อค แออัดไปทันที มีร้านค้าจร ที่มาวางขายสินค้าอยู่เ็ต็มไปหมด ในวันเสาร์อาิทิตย์เราจะเห็น “ลูกสาว” ของบรรดาร้านค้า มาช่วยขายของด้วย ซึ่งก็ช่วยเรียกสายตาจากหนุ่มๆ ได้เยอะเลยครับ ที่คิดแบบนี้เพราะสังเกตุจากหลายๆร้าน อาจจะเป็นเทคนิคการขายก็ได้ อันนี้ผมไม่ทราบเหตุผลจริงๆ เพราะไม่กล้าถาม ^^;
ตลาดลาดชะโด (1)
ตลาดลาดชะโดก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยพัฒนามาจากตลาดน้ำ เดิมชุมชนชาวจีนสร้างเรือนแพทรงไทยค้าขายสองฝั่งคลอง เกิดเป็นรูปแบบตลาดน้ำ ต่อมาได้ใช้พื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นของวัดลาดชะโด สร้างตลาดไม้ใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อค้าขาย แล้วขยายเข้าไปสูงฝั่งเรื่อยๆ จำนวนเกือบร้อยคูหา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก

วันนี้ผมจะพามาเที่ยวอุทยานเแห่งชาติน้ำหนาว ณ จ.เพชรบูรณ์ เป็นอุทยานที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่ง ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางกันมาปีละหลายพันคน เนื่องจากการเดินทางสะดวก และรถยนต์สามารถไปจอดได้ถึงจุดกางเต้นท์ ช่วงเทศกาล หรือวันหยุดยาวๆ จึงมีคนชอบความหนาว ออกมาสัมผัสน้ำหนาวกัน ที่นี่เป็นหุบเขา ที่คดเคี้ยว และสลับไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่มากมาย เช่นเดียวกับเขาค้อ ซึ่งไม่ห่างไกลกันมากนัก การเดินทางครั้งนี้เราไปกันทั้งหมด 11 คน มี เหม่ง ตาว เฟริส อิ๋น พี เมย์ ฟ้า แม็ก พ่อ แม่ และป้าเมย์ เดินทางด้วยรถปิีกอัพของพ่อเมย์ พวกเรานั่งกระบะหลังกันมาซึ่งต่อหลังคาไว้ด้วย แต่ด้วยระยะทางที่ค่อยข้างไกล ทำให้เพื่อนตัวน้อยของเรา ง่วงนอน ทำเอาเพื่อนๆคนอื่น นั่งกันไม่ได้เลยครับท่านผู้ชม เพราะมันตัวใหญ่มาก ท่านดูจากภาพเองก็แล้วกัน ออกเดินทางจากรังสิต มาถึงที่เพชบูรณ์ ก็แวะซื้อข้าวของจำเป็น พวกอาหารสด และเครื่องใช้อื่นๆ ทำให้พื้นที่ในรถแคบลงไปอีก และเดินทางต่อมาจนถึงที่ทำการอุทยาน ประมาณ 16.00 น. เราก็แวะถ่ายรูปพอเป็นพิธี

เมืองน่าน ดอยภูแว, ตอน เส้นทางสุดหฤโหด
หลังจากท่องเมืองน่านจนอิ่มหนำสำราญแล้ว ก็กลับไปตระเตรียมข้าวของ เพื่อจะเดินทางไปดอยภูคา เราได้เหมารถสองแถว (รถแดง) ไปส่งที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 11.00 น. เราเริ่มออกจากเมืองน่าน ลัดเลาะไปตามหมู่บ้าน พอออกจากตัวเมืองก็เข้าสู่ความเป็นชนบทอย่างเห็นได้ชัด มีพืชสวนไร่นาเรียงรายอยู่ข้างทางโดยรอบ อากาศสดชื่นน่านอนมาก ๆ ครับ พอเข้าสู่ช่วงที่เป็นภูเขา ทางค่อนข้างลาดชัน และมีโค้งเยอะมาก พาให้อยากอาเจียน เพราะเกิดอาการเวียนหัวขึ้นมาตะหงิดๆ

เมื่อ 6 – 10 ธันวาคม 2550 ผมก็ชีพจรลงเท้าอีกแล้ว ครั้งนี้เราไปกันที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน ในทริปนี้ที่นัดหมายกันครั้งแรกจะไป อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน แต่จากกระแสที่คนไปกันเยอะและดูวุ่นวาย เราเลยเปลี่ยนโปรแกรม หนีผู้คนไปเผชิญวิบากกรรม กันที่ ยอดดอยภูแว* สมาชิกที่ไปในทริปนี้ก็ เหมือนเดิม เหม่ง ก๊อง น๊อต 3 คน

บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 8 จบแล้วว
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 8 จบแล้วว
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 7
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 7
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 6
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 6
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 5
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 5
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 4
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 4
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 3
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 3
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 2
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 2
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 1
บันทึกภูสอยดาว ตอนที่ 1