Menu

เที่ยวไปชิมไป

ตลาดกรุงศรีโซนใหม่ ตลาดบกกรุงศรี หน้าค่ายสมเด็จพระนเรศวร
เป็นที่รู้จักกันมาซักพักแล้ว กับตลาดยามค่ำคืน ที่ชื่อเรียกขานของนักท่องเที่ยวว่า “ถนนคนเดินกรุงศรี” ที่อยู่บริเวณเส้นทางเลี่ยงช่วงเทศกาล จริงๆ มันคือทางเข้ามาสู่ตลาดกรุงศรี ที่ตั้งอยู่หลังศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่เอง เป็นสถานที่สำหรับจอดรถ และช๊อปปิงสินค้า ของฝากจากอยุธยา หลังจากที่จัดไปได้ร่วม 3 เดือน ก็ย้ายจากบริเวณถนน เข้ามาไว้ด้านใน ตรงส่วนของหน้าค่ายสมเด็จพระนเรศวรฯ ด้านหลังค่ายจะเป็นตลาดน้ำ ด้านหน้าค่ายเป็นตลาดบก “ตลาดน้ำกรุงศรี” ช่วงนี้ก็ปรับปรุงไปเรื่อยๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพิ่มถังขยะ มีเรือที่ลงขายสินค้า และทีเด็ดสามารถจ่ายเงินผ่านการ scan QR code ได้ด้วย ตอนนี้มีเปิดรับอยู่ 2 ธนาคาร คือ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงไทย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่ นิยมการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า การพกเงินสด “ตลาดบกกรุงศรี” คือตลาดที่ย้ายมาจากถนนคนเดินกรุงศรี มาจัดเป็นตลาดยามค่ำ บริเวณหน้าค่ายสมเด็จพระนเรศวรฯ เท่าที่ทราบข้อมูลตอนนี้ จะมีเฉพาะวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 16.00 – 21.00 โดยประมาณ และจะมีการแสดงเป็นรอบๆ ตรงหน้ารูปหล่อสมเด็จพระนเรศวรฯ […]
ถนนคนเดินกรุงศรี ไหว้พระขอพร ชมละคร นอนอยุธยา อยุธยาจัดงาน “ถนนคนเดินกรุงศรี” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้แนวคิด “ไหว้พระรับพร ชมละคร นอนอยุธยา” โดยต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวจากไปเช้าเย็นกลับ มาเป็นพักแรมค้างคืน สร้างจุดขายของ จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ได้มีเพียงแต่วัด ที่ให้นักท่องเที่ยวมากราบไหว้ขอพร แล้วก็กลับ แต่ยังมีกิจกรรมตอนกลางคืน มีตลาดกลางคืน หรือ Night Market ให้เดิน ชม ช๊อป ชิม กันอีกด้วย สำหรับบรรยากาศของงานจะมีการจำลองสถานที่ต่าง ๆ มีการตกแต่งร้านค้าแนวย้อนยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา และพ่อค้า แม่ค้า จะแต่งชุดไทยทั้งงาน ส่วนสินค้าที่จำหน่ายก็จะมีตั้งแต่ ขนม ของวาง ของฝาก อาหารคาวหวานมากมาย เสื้อผ้า ของประดิษฐ์ น้ำสมุนไพร และ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นวางจำหน่าย ซึ่งโซนการแสดงก็จะมีเป็นรอบๆ มีด้วยกัน 2 เวที เป็นเวทีของถนนคนเดิน และเวทีของลานวัฒธรรม ซึ่งตรงลานวัฒนธรรมนี้จะมีการแสดงลำตัด เพลงพื้นบ้าน เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว และละครชาตรี รวมไปถึงโขน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ด้านหน้าตลาดจะทำเป็นซุ้มไม้ไผ่ ตามแบบฉบับของค่ายโบราณ ไปที่ไหนก็จะเห็นลักษณะแบบนี้ มีตุ๊กตาเด็กไทยหัวจุกยกมือทักทาย […]
ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม
หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ตลาดนี้ก็ยังคงอยู่ ผมไปครั้งแรกเมื่อปี 2009 (บทความครั้งที่แล้ว) ตอนนั้นเป็นตลาดเปิดใหม่ ก็ดูคึกคัก แต่ซักพักก็แผ่วลงเพราะว่า จุดขายยังไม่มี จุดที่คนจะมาแวะนั้นมันยังไม่น่่าสนใจพอ เดิมทีมีของกิน ของใช้โบราณ วางกับพื้น เพื่อให้สมกับคำว่า “โก้งโค้ง”?และอีกปัจจัยคงเป็นเพราะถนนที่ไม่ค่อยดีนัก เป็นถนนสองเลนวิ่งสายกัน และบางช่วงก็มีการปรับปรุงทาง ทำให้นักท่องเที่ยวเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น แต่ภายหลังเป็นถนน 4 เลน ที่สร้างเสร็จแล้วทำให้รถสัญจรไปมาสะดวกขึ้น ส่วนของตลาดเองก็มีการปรับปรุงใหม่ เพิ่มโซนอาหารเข้ามาอีก เพื่อให้ผู้ที่เดินทางมาได้รับประทานอาหารในช่วงกลางวัน ผลตอบรับดีมาก ทัวร์ไหนจะมาไหว้พระก็ต้องแวะที่นี่ ทั้งขาไปและขากลับ ยิ่งตอนเที่ยงคนจะเยอะมากๆ จนลานจอดรถที่รองรับไม่พอ จนต้องไปจอดกันบนถนนเลยทีเดียว สิ่งที่พบว่ามันเปลี่ยนแปลงไปคือ ป้ายด้านหน้า ใหญ่ขึ้น สะดุดตาขึ้น ซุ้มประตูดูมั่นคง มีศาลาเรือนไทยด้านหน้า สำหรับเป็นมุมถ่ายภาพของนักท่องเที่ยว มีลานจอดรถด้านข้าง เนื้อที่ราว 1 ไร่เศษ มีพื้นที่สำหรับสินค้าการเกษตร เมื่อเดินเข้าไปในตลาด ร้านค้าดูแน่นขึ้น ดูมีสินค้าของกินที่หลากหลายขึ้น มีผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสาน และเครื่องปั้นดินเผา มีห้องประชุม สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ รวมถึงงานวิวาห์ มีร้านกาแฟของตลาดเอง มีจุดนั่งรับประทานอาหาร ที่รองรับคนได้เยอะ สำหรับการนั่งรับประทานอาหารนั่น […]
ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล สระบุรี
วันนี้หลังจากที่เข้าตัวเมืองลพบุรีมาก็เลยหาตลาดเพื่อแวะซื้อขนมของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้าน ซึ่งได้ยินชื่อมาซักพักแล้วกับ “ตลาดต้าน้ำบ้านต้นตาล” ต้าน้ำ ก็มาจากคำว่า ท่าน้ำ ในภาษาเหนือนี่เอง เท่าที่ทราบข้อมูลเขาว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชาวเชียงแสน จ.เชียงราย ที่อพยพย้ายถิ่นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งชุมชนนี้ก็ยังคงขนบธรรมเนียมประเพนีแบบชาวเหนือล้านนาไว้ เมื่อเดินเข้าไปในตลาดเราจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายภาคเหนือ การเดินทางค่อนข้างจะหลายโค้งซักหน่อย แต่หากเรามี GPS แล้ว ที่ไหนก็ไปได้หมดครับ เดี๋ยวเส้นทางผมจะลงไว้ให้ทิ้งท้าย มาชมบรรยากาศตลาดกันก่อนเพื่อเรียกน้ำย่อย ตลอดเส้นทางที่มาก็ไม่ค่อยมีรถซักเท่าไหร่ แต่พอมาถึง “วัดต้นตาล” จะเห็นรถวิ่งเข้าออกเยอะมากครับถึงขนาดติดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากที่นี่ไม่ค่อยมีที่ให้จอดรถเท่าไหร่ บางคนก็จอดกันริมถนนและเดินเข้ามา ถ้าจอดรถด้านใน มีพื้นที่จอดได้ประมาณ 30 คัน ค่าจอดคันละ 20 บาทครับ หลังจากรีบหนีความร้อนจากด้านหน้าตลาด แล้วเดินตรงเข้ามาถึงใจกลางตลาดเราจะเจอจุดนัดพบที่เป็นต้นก้ามปูใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปทำให้ตรงนี้ร่มและเย็นมากๆ ป้ายต้นรับในตลาดเขียนเป็นสะเนียงล้านนาว่า “เจินแอ่วกาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นต๋าน” ก็คือเชิญมาเที่ยวตลาดน้ำโบราณบ้านต้นตาล นั่นเอง ภายในตลาดก็จะมีซอยเล็กๆ ให้เดินเพื่อเลือกซื้อของกินของฝาก สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นอาหาร พวกผักพื้นบ้าน ขนมหวาน น้ำสมุนไพร โดยทางตลาดเขาได้ทำแพไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการนำอาหารลงไปทาน หรือ ไปนั่งพักเหนื่อยได้ที่นี่ ข้างๆแพจะมีลานเวทีสำหรับการแสดงรำ ที่ทางตลาดจัดขึ้น อาหารเยอะมากๆ ที่นี่ถ้าทำสถานที่สำหรับรับประทานอาหารกลางวันดีๆ มีมุมสำหรับนั่งทานอาหารผมว่าจะดีไม่น้อย เพราะเท่าที่เดินวนๆ […]
ตลาดน้ำโบราณบางพลี สมุทรปราการ
“ตลาดโบราณบางพลี” หรือ “ตลาดบางพลีใหญ่” เป็นตลาดเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี เป็นเรือนแถวไม้สองชั้นหลายสิบคูหา เรียงรายไปตามลำคลองในบรรยากาศชวนรำลึกถึงอดีต ซึ่งตลาดน้ำบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งและมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร จากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร การเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจวพายและแล่นใบเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมี วัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมายสมควรอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและ หวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษสืบต่อไปดังคำกลอนของสุนทรภู่
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง สมุทรปราการ
ได้ยินมานานแล้วแต่เพิ่งเคยมากับตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ต.บางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ “ตลาดบางน้ำผึ้ง” เปิดครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2547 และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2547 เป็นแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิต วิถีชุมชนและวิถีชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณ บ่งบอกถึงเสน่ห์ของท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของไทยโบราณ ท่านจะได้พบกับเรือจำหน่ายสินค้าริมคลองบางน้ำผึ้ง พร้อมทั้งอาหารคาวหวานไทยโบราณและซุ้มจำหน่ายต้นไม้ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดสมุทรปราการ และ OTOP บางน้ำผึ้ง ทั้งผลิตภัณฑ์จากสวนพืชผักและสมุนไพรต่างๆ อีกมากมาย
ตลาดน้ำบางคล้า ฉะเชิงเทรา
อีกตลาดที่เน้นสำหรับนักชิม ที่มาเยือนจังหวัดฉะเชิงเทรา ตลาดน้ำบางคล้าแห่งนี้เป็นอยู่ถัดไปจาก “ตลาดบ้านใหม่”?ไม่ไกลนัก เปิดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 -18.00 น. ตั้งอยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางคล้า และที่ว่าการอำเภอบางคล้า ยาวไปจนถึงหลังวัดแจ้ง
ตลาดบ้านใหม่ ตลาดร้อยปี เมืองแปดริ้ว
ในทริปนี้ผมไปย้อนยุคตลาดเก่าแก่แห่งเมืองแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา ตลาดที่มีอายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงสภาพดั่งเดิมไว้ ตลาดแห่งนี้เป็นที่ประกอบอาชีพค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญในอดีต ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางประกง ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
เที่ยวเมืองจำลอง ตลาดน้ำ 4 ภาค เมืองพัทยา
ได้เวลาเล่าทริปใกล้บ้านอีก 1 ทริป เมื่อปีก่อนไปเที่ยวพัทยาและได้มีโอกาสไปแวะไปที่เมืองจำลอง หรือที่เราจะคุ้นหูกันกับชื่อภาษาอังกฤษว่า “Mini Siam” ตั้งอยู่ ติดกับถนนสุขุมวิท กม. 143 เส้นที่จะเข้าเมืองพัทยาเลยครับ ด้านหน้าของที่นี่จะสังเกตุได้ง่ายจะมียักษ์ใหญ่ หรือแบบจำลองของยักษ์วัดโพธิ์ ยืนอยู่ด้านหน้า 2 ตน ครับ ซึ่งผมก็เพิ่งทราบว่าเมืองจำลองนี้ ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2529 (ห๊าาาาา) โดยแบบจำลองชิ้นแรกจะเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนเนื้อที่ทั้งหมด 29 ไร่ ซึ่งได้รวมเอาแบบจำลองปูชนียสถานและโบราณสถาน ที่แสดงถึงสถาปัติกรรมทั้งของไทย และของต่างประเทศรวมอยู่มากมาย
ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม ณ กรุงเก่าราชธานีศรีอยุธยา
เที่ยวกันมาก็หลายตลาด ทั้งตลาดน้ำ ตลาดร้อยปี มีดีและเด่นแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะตลาดไหนๆ ก็มีมนต์สเน่ห์ของตัวเอง แต่ที่ไม่แพ้ที่ไหน มีตลาดใหม่แห่งหนึ่ง ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นานมานี้ เรามาลองเปลี่ยนบรรยากาศมาเที่ยว “ตลาดโก้งโค้ง” ตลาดมีชื่อของเมืองกรุงศรีราชธานีเก่ากันบ้าง
ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา (๑)
ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงของเมืองสมุทรสงครามตั้งอยู่ที่ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา ซึ่งมนต์สเน่ห์ของสายน้ำแม่กลอง ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัด สมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุก วันนี้ ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า “ตลาดน้ำยามเย็น”
สามชุกตลาดร้อยปี (v.2009)
เมื่อเดือนที่แล้วผมได้กลับไปที่ตลาดสามชุก ที่ จ.สุพรรณบุรี อีกครั้ง ซึ่งก็ไปไม่บ่อยนัก แต่ก็หลายครั้งแล้ว ซึ่งครั้งล่าสุดนี้ผมได้เห็นการพัฒนาที่เกิน ขอใช้คำว่าเกินนะครับ เพราะบรรยากาศต่างกับครั้งแรกที่ผมไปมากๆ มันไม่ใช่ตลาดเก่าแก่ และเงียบสงบอีกต่อไปแล้ว เพราะมันคึกคักมาก ผู้คนจากทุกสารทิศ หลั่งไหลมารวมกันที่นี่ จนแน่นขนัด ร้านค่าต่างๆ ก็แต่งร้านใหม่ มีสินค้าใหม่ๆ พูดง่ายๆคือ สินค้าทั่วๆไป หรือของที่ทำมาขายเป็นพิเศษ เริ่มมากขึ้น ของกินเยอะขึ้น ทำให้ตลาดขนาด 4 บล็อค แออัดไปทันที มีร้านค้าจร ที่มาวางขายสินค้าอยู่เ็ต็มไปหมด ในวันเสาร์อาิทิตย์เราจะเห็น “ลูกสาว” ของบรรดาร้านค้า มาช่วยขายของด้วย ซึ่งก็ช่วยเรียกสายตาจากหนุ่มๆ ได้เยอะเลยครับ ที่คิดแบบนี้เพราะสังเกตุจากหลายๆร้าน อาจจะเป็นเทคนิคการขายก็ได้ อันนี้ผมไม่ทราบเหตุผลจริงๆ เพราะไม่กล้าถาม ^^;
ตลาดลาดชะโด (1)
ตลาดลาดชะโดก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยพัฒนามาจากตลาดน้ำ เดิมชุมชนชาวจีนสร้างเรือนแพทรงไทยค้าขายสองฝั่งคลอง เกิดเป็นรูปแบบตลาดน้ำ ต่อมาได้ใช้พื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นของวัดลาดชะโด สร้างตลาดไม้ใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อค้าขาย แล้วขยายเข้าไปสูงฝั่งเรื่อยๆ จำนวนเกือบร้อยคูหา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก